ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยมีกี่ประเภท

ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยมกับประชาชน ลักษณะคล้ายกับสถาบันการเงินทั่วไป และเป็นแหล่งระดมเงินออมของประเทศไทย เป็นการรับประกันความเสี่ยงหรือการที่บริษัทเข้าไปรับความเสี่ยงภัยแทนบุคคลหรือธุรกิจซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการประกอบธุรกิจในทุกสาขา

การประกันภัยในประเทศไทย มีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท

การประกันภัยนั้นได้เป็นการแบ่งตามหลักของประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์  แบ่งตามหลักของทางธุรกิจประกันภัย โดยสามารถแบ่งการประกันภัยออกเป็น  2  ประเภทด้วยกัน คือ ………

การประกันวินาศภัย (Non-life Insurance) และ การประกันชีวิต (Life Insurance)

การประกันวินาศภัย (Non-life Insurance)  คือ การที่ผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

ปร

การประกันวินาศภัย มีประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพย์สิน และกิจการของผู้เอาประกันภัยเป็นอย่างมากเพราะช่วยป้องกันการสูญเสีย รวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ ที่อาจจะประมาณความเสียหาย หรือ ความสูญเสียเหล่านั้นเป็นเงินได้ การประกันวินาศภัย (Non-life Insurance) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท การประกันอัคคีภัย,  การประกันภัยรถยนต์, การประกันภัยทางทะเล, การประกันภัยเบ็ดเตล็ด  โดยผู้เอาประกันวินาศภัยตกลงจะส่งเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกันวินาศภัยเป็นการตอบแทน

การประกันชีวิตในธุรกิจประกันภัย คือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา แก่เฒ่า โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัย ก็จะได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและครอบครัว   การประกันชีวิตนั้นเป็นการสร้างให้ประชาชนรู้จักการประหยัด และเกิดการออมทรัพย์เป็นการสร้างความมีวินัยและต่อเนื่องเนื่องมาจากการประกันชีวิตนั้นเป็นสัญญาระยะยาว ผู้เอาประกันต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันเป็นรายงวดการประกันชีวิตบางส่วนเหมือนการออมทรัพย์อยู่ด้วยแต่จะไม่เหมือนกับการฝากเงินไว้กับธนาคาร รูปแบบของการประกันชีวิต  อยู่ 4 แบบ  การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์,  การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา, การประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ หรือแบบรายปี

ธุรกิจประกันภัย เป็นสัญญาประกันภัยที่มีจุดประสงค์ เพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง จากบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพย์สิน เพื่อออกเป็นส่วนโดยร่วมกันชดใช้ ชดเชย เมื่อมีความสูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น เป็นตัวช่วยเพิ่มความคุ้มครองความอุ่นใจในการดำเนินชีวิต