รายชื่อบริษัทประกันชีวิต ในประเทศไทย

รายชื่อบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ที่มีหลากหลายเจ้า ก่อนไปรู้จักกับบริษัทประกันชีวิต มารู้จักกันก่อนว่า ประกันชีวิต คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ประกันชีวิต คือ วิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งรวมกันเฉลี่ยภัย ที่เนื่องมาจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัยเหล่านั้น ก็ได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำเงินก้อนดังกล่าวไปจ่าย ให้แก่ผู้ได้รับประสบภัย

ประกันธุรกิจ

บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย มีหลายเจ้า ทั้งมีชื่อเสียง และไม่มีชื่อเสียง หากตัดสินใจเพียงแค่คุ้นชื่อ แล้วซื้อประกันถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิด เพราะมีบริษัทประกันภัยอีกหลายเจ้าที่เงื่อนไข และความต้องการครอบคลุม คุ้มครองกับตัวท่านเอง สามารถเลือกจาก รายชื่อบริษัทประกันชีวิตในลิสต์ต่อไปนี้ ได้เลย เริ่มที่บริษัทประกันชีวิตเจ้าดังกันก่อน คือ เมืองไทยประกันชีวิต บริษัท กรุงเทพ ประกันชีวิต จำกัด, บริษัท กรุงไทย – แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด, บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์), บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต, บริษัท ไทยประกันชีวิต, บริษัท ไทยพานิชย์นิวยอร์คไลฟ์ ประกันชีวิต, บริษัท ไทยรีประกันชีวิต, บริษัท ไทยสมุทร ประกันชีวิต, บริษัท ธนชาติ ประกันชีวิต, บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต, บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย(เดิมชื่อ แม็กซ์ ประกันชีวิต), บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต(ประเทศไทย), บริษัท ฟินันซ่า ประกันชีวิต, บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต, บริษัท เมืองไทย ประกันชีวิต, บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย), บริษัท สยามซุมซุง ประกันชีวิต, บริษัท สยาม ประกันชีวิต, บริษัท สหประกันชีวิต, บริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวร์รันส์, บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต, บริษัท อาคเนย์ ประกันชีวิต, บริษัท เอช ไลฟ์ แอสชัวร์รันส์, บริษัท แอดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวร์รันส์, บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต รายชื่อบริษัทประกันชีวิตเหล่านี้ยังไม่รวมถึงบริษัทประกันภัย อีกมากมายที่เริ่มก่อตั้งขึ้น

หากสนใจทำประกันชีวิตเพื่อความอุ่นใจ สามารถติดต่อสอบถามได้จากทางเว็บไซต์หรือตัวแทน โบรกเกอร์ประกันภัยต่างๆ เพื่อความมั่นใจ ก่อนซื้อควรติดต่อ สอบถามข้อมูลให้ครบถ้วนด้วย

ต่อทะเบียนออนไลน์ ทำได้ง่ายๆ

ใกล้ถึงเวลาต่อทะเบียน กันหรือยัง หากใกล้ได้ถึงเวลา ไม่ต้องไปต่อคิวให้เสียเวลา วันนี้เรามาทำต่อทะเบียนออนไลน์กัน เพื่อความสะดวกสบายต้องทำทุกอย่างบนออนไลน์ค่ะ ก่อนอื่นเลยก่อนจะไปต่อทะเบียนออนไลน์ มาทำความรู้จักกันก่อน ทะเบียนออนไลน์ที่ว่า นั่นคืออะไร

ต่อทะเบียนออนไลน์

การต่อทะเบียนออนไลน์ ที่กล่าวถึง ก็คือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จะมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ หากรถของท่านจดทะเบียนมากกว่า 7 ปี จะต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม คือ ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) โดยสามารถนำรถไปตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถของเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบก และ หากมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็นก๊าซ CNG/LPG จะต้องขอหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถประจำปีตัวจริง เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว สามารถนำเอกสารไปยื่นได้ตามกรมขนส่งทุกจังหวัด หรือช่องทางต่างๆ เช่น  ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax), เคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service) แต่ในทุกวันนี้ การทำทุกอย่างบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่สะดวก และรวดเร็วที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิว โดยสามารถต่อทะเบียนออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่ง dlte-serv.in.th โดยที่ไม่ต้องนำรถไปต่อคิว ให้เสียเวลาทั้งวัน โดยจะมีขั้นตอนดังนี้

  1. สมัครสมาชิก ผ่านทางเว็บไซต์ dlte-serv.in.th กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  2. เมื่อกรอกข้อมูลครบ ล็อกอินเลือกเมนู ลงทะเบียนรถ กรอกข้อมูลให้ครบ
  3. เลือกรูปแบบการจ่ายเงินในรูปแบบที่สะดวกที่สุด เช่น หักจากบัญชีธนาคาร, ตัดผ่านบัตรเครดิต หรือ จ่ายเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิช
  4. กด ตกลง เพื่อยืนยันการทำรายการ เพียงเท่านี้ เสร็จเรียบร้อย

นับว่าเป็นการต่อทะเบียนออนไลน์ที่ง่าย และรวดเร็วมากๆอีกช่องทางหนึ่ง เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ราคา พรบ ราคาเบี้ย พรบ ที่กฎหมายกำหนดของรถแต่ละขนาด แต่ละประเภท คือ  รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) เบี้ยรวม 645.21  บาท, รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง รถตู้     เบี้ยรวม 1,182.35  บาท, รถยนต์โดยสารแบบที่เกิน 15 คน  แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง เบี้ยรวม 2,203.13  บาท,  รถยนต์โดยสารที่เกิน 20 คน แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง เบี้ยรวม 3,437.91  บาท, รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง เบี้ยรวม 4,017.85  บาท, รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (ปิคอัพ) เบี้ยรวม 967.28   บาท, รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง 6 ตัน เบี้ยรวม 1,310.75  บาท, รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน เบี้ยรวม 1,408.12  บาท, รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน เบี้ยรวม 1,826.49  บาท  ใครสนใจการต่อทะเบียนออนไลน์ ทางช่องทางนี้ เมื่อถึงเวลาสามารถไปลองกันได้นะคะ ^^

เลือกโบรกเกอร์ประกันภัย แบบมีเทคนิค

แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้ดีมาก แต่ก็มีรถยนต์ทยอยออกมาเพิ่มมากขึ้นในตลาด โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงมีการออกกฎ พรบ. และ ประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมขึ้นมา โบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์จึงเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ พร้อมกับจำนวนรถยนต์บนท้องถนน แล้ววิธีการเลือกโบรกเกอร์ประกันภัยที่มีอยู่มากมายนั้น จะเลือกได้จากอะไร คราวนี้เราจึงมาบอกเคล็ดลับการเลือกโบรกเกอร์ประกันภัยมาให้ทราบกันค่ะ

โบรกเกอร์ประกันภัย

การที่เป็นโบรกเกอร์ประกันภัยได้นั้นต้องมีการรับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อเป็น ตัวแทน หรือ นายหน้าประกันภัย หากโบรกเกอร์ประกันภัยเจ้าไหนไม่มี 2 อย่างนี้ ตัดทิ้งเลยค่ะ ข้อต่อมาคือ ใบเสนอขาย ผู้ที่เสนอขายจะต้องมีการแจ้งชื่อ – นามสกุล เลขที่ใบอนุญาตตัวแทน นายหน้าประกันภัย และแจ้งว่าเป็นการขายประกันภัย หากโบรกเกอร์ประกันภัยเจ้าไหนไม่มีตัดทิ้งเลยค่ะ ต่อมา คือ เช็คประวัติและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ประกันภัย เช่น โบรกเกอร์ประกันภัยเปิดมายาวนานหรือไม่ มีประวัติการดำเนินการที่ดีหรือไม่ มีที่อยู่ชัดเจนหรือไม่ สถานที่ตั้งต้องมีความน่าเชื่อถือ  หากโบรกเกอร์ประกันภัยเจ้าไหนไม่มีตัดทิ้งเลยค่ะ มีหลักฐานการซื้อขายที่ชัดเจน และ สามารถตรวจสอบได้   เช่น เมื่อมีการตกลงซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ประกันภัย จะทำการออกใบเสร็จให้ลูกค้า เพื่อเป็นการยืนยันกับลูกค้าว่าได้ชำระเงินเรียบร้อย หากโบรกเกอร์ประกันภัยเจ้าไหนไม่มี หรือไม่สามรถทำให้ได้ตัดทิ้งเลยค่ะ และข้อสุดท้าย เช็คว่าโบรกเกอร์ประกันภัยต้องไม่อยู่ในรายชื่อ  Blacklist ของ คปภ.  โดยที่สามารถเช็คได้จากสายด่วน คปภ. 1186 หรือที่เว็บไซต์ คปภ.

ในการเลือกซื้อประกันภัยผ่านทางโบรกเกอร์ประกันภัยมีข้อดี คือ ค่าเบี้ยประกันรถถูกกว่าซื้อโดยตรงกับบริษัทประกัน, ได้เปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันรถยนต์ของหลายบริษัท, เป็นคนกลางค่อยประสานงานเวลาเกิดเหตุ ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยผ่านทางโบรกเกอร์ประกันภัย ควรตัดสินใจ ศึกษาเงื่อนไข พร้อมรีวิวต่างๆตามเว็บไซต์ก่อน เพื่อความคุ้มค่าและคุ้มครองที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง

ประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ที่เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ

ในประเทศที่พัฒนาแล้วการ ประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากขึ้น จึงทำให้บริษัท เจ้าของผลิตภัณฑ์มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ทั้งจะเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้ค้าปลีก การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ไม่เพียงแค่จะปกป้องธุรกิจของคุณจากคดีความเท่านั้น ในกรณีที่คุณมีโอกาสดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงภัยจากข้อบังคับด้านความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ในทั่วโลกให้ เหลือน้อยมากที่สุดประกันธุรกิจในผลิตภัณฑ์

แม้ในปัจจุบัน ประเทศไทยของเราจะยังไม่มีกฎหมาย ข้อบังคับเฉพาะที่กล่าวถึงประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว แต่แนวโน้มคงจะมีการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีมาตรฐานเทียบเท่ากับสากล ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรม, การบริการ, การค้าส่งและการค้าปลีกสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ของเล่นเด็ก ชิ้นส่วนของเครื่องบิน เครื่องมือทางการแพทย์ ยา สารเคมี เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และสินค้าที่มีอายุใช้งานนาน และตัวอย่างของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า / ส่งออก ผู้ขาย

รวมถึงการคุ้มครอง บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทนแทนในนามของผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย รวมถึงค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม ความบาดเจ็บส่วนบุคคล ทั้งร่างกายและจิตใจ, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทางกฎหมาย, ความสูญเสียหรือเสียหายต่อเนื่องหรือการขาดการใช้ประโยชน์, ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

ข้อดีของการทำประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ คือได้รับการคุ้มครองและการชดใช้ที่สมควร เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือประสบความเสียหายอันเนื่องมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมากและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน และ การที่ผู้ผลิตต้องเพิ่มความใส่ใจและระมัดระวังในทุกขั้นตอนการผลิตสินค้ามากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่การออกแบบ วัสดุที่จะนำมาใช้ กระบวนการควบคุมคุณภาพ และการทดสอบสินค้าก่อนนำออกจำหน่าย อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและคุณภาพดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้บริโภคต่างประเทศมีความมั่นใจในการใช้สินค้าไทย กล้าใช้ กล้าซื้อ มากขึ้น ลดโอกาสการกีดกันทางการค้าลดลง ลดโอกาสที่จะถูกกีดกันทางการค้าลง ผู้ผลิตของไทยสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของต่างชาติได้เลย เป็นการส่งเสริมรายได้ของเจ้าของธุรกิจผลิตภัณฑ์ของไทยให้ได้มากขึ้น

ข้อตกลงและเงื่อนไขกรมธรรม์ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ในการทำประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน รอบคอบ ทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

เตรียมความพร้อมการสอบนายหน้าประกันภัย

การขายประกันภัยอาจเป็นดูเรื่องใกล้ตัวที่หลายๆคนร้อง หยี…!!  พร้อมหนีออกห่าง แต่การเป็นคนขายประกันซะเองล่ะ เพื่อที่หารายได้เข้ามืออีกทางหนึ่ง ทั้งประกันรถยนต์ ประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต แต่อย่าเพิ่งคิดว่ามันเป็นเรื่องง่าย ใครๆก็มาขายประกันได้นะคะ เพราะนายหน้าประกันภัยแต่ละคนนั้น ต้องผ่านการสอบ และมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนขายประกันก่อน อาจจะทำให้ผิดกฎหมายได้เลย

สอบนายหน้าประกันภัย

มารู้จักกับตัวแทนนายหน้าขายประกันภัย หรือ เรียกว่า Agent คือ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทประกัน หรือ เป็นพนักงานของบริษัทประกัน บริษัทใดบริษัทหนึ่งอยู่ โดยที่นายหน้าขายประกัน 1 คนสามารถเป็นตัวแทนบริษัทประกันได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเป็นตัวแทนขายประกันให้กับบริษัทอื่นได้อีก หากจะเป็นบริษัทที่ 2 ได้ ต้องลาออกจากบริษัทแรกก่อน

การสอบนายหน้าประกันภัยเพื่อเป็นตัวแทนการขายประกันภัย จะมีข้อสอบ 120 ข้อ

นายหน้าประกันชีวิต

1.จรรยาบรรณและศีลธรรมนายหน้าประกันชีวิต 10 ข้อ
2.หลักการประกันชีวิต 50 ข้อ
3.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 20 ข้อ
4.พรบ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 20 ข้อ

นายหน้าประกันวินาศภัย
1. จรรยาบรรณและศีลธรรมนายหน้าประกันวินาศภัย 10 ข้อ
2. หลักการประกันวินาศภัย 70 ข้อ
3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 20 ข้อ
4. พรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 20 ข้อ

เมื่อสอบผ่านแล้ว จะได้เป็นนายหน้าขายประกันเลยหรือไม่ คำตอบคือ ยังไม่สามารถขายประกันได้ ต้องยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าประกันภัย หากต้องการเป็นนายหน้าขายประกัน ต้องส่งเอกสารไปที่ คปภ. เพื่อขอขึ้นทะเบียนนายหน้าก่อนแล้วจึงติดต่อไปที่บริษัทประกันที่สนใจ เมื่อสอบผ่านแล้วบริษัทประกันที่เรามีการสมัครเป็นตัวแทนไว้ จะดำเนินการขึ้นทะเบียนให้เอง

การสอบนายหน้าประกันภัย สามารถสมัครสอบได้จากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  http://www1.oic.or.th/th/eservice/index.php/testing/go2Faq พร้อมรู้ผลทันทีจากการสอบผ่านคอมพิวเตอร์ และสามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า และที่นั่งจำนวนจำกัด หากไม่สามารถมาสอบในวันที่เลือกไว้ถือว่าขาดสอบ ต้องสมัครสอบใหม่ โดยเลือก วัน เวลา และสถานที่สอบที่ผู้สมัครสอบสะดวก

ประกันภัยสำหรับพันธมิตรทางธุรกิจ

การทำธุรกิจอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่สามารถทำได้ทุกคน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้แล้วสำเร็จ การทำประกันเพื่อบริหารความเสี่ยงในการทำธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงภัยสำหรับธุรกิจองค์กร สมาคมห้างร้านต่างๆ รวมถึงกลุ่มลูกค้าของธุรกิจหลากหลายประเภท มาให้คำแนะนำ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการในทุกขนาดและประเภทของธุรกิจ เช่น ประกันภัยสำหรับธุรกิจธนาคาร ประกันภัยสำหรับธุรกิจการขนส่ง รวมไปถึงประกันธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นต้น หากเริ่มมองหาตัวแทนประกันภัยสำหรับพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเป็นทั้งพันธมิตรทางธุรกิจและที่ปรึกษาด้านประกันภัยที่เชื่อถือได้ ให้คำปรึกษาด้านแผนการตลาด เพื่อให้ครอบคลุมและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจในทุกกลุ่มสมาชิกหรือลูกค้า ทุกแผนงานทางบริษํทประกันภัยสามารถรองรับได้ทุกรูปแบบ

ประกันธุรกิจ

แผนสนับสนุนงานขาย ประกันภัยที่ให้คำปรึกษาทางด้านประกันภัยแบบเหมาะสมแก่ธุรกิจของลูกค้าทุกราย โดยจะเริ่มต้นจากการศึกษารายละเอียดในแต่ละธุรกิจ รับฟังความต้องการของลูกค้าแต่ละรายของคุณอย่างละเอียด  และนำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้ไปวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อแนะนำและส่งมอบผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เป็นประโยชน์สูงสุด

แผนกลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างคุณค่าในธุรกิจ ด้วยวิธีการสื่อสารถึงผลประโยชน์ของแผนประกันภัยไปยังฐานลูกค้า หรือกลุ่มสมาชิก ทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าทุกรายจะได้รับสารที่ตรงกับความต้องการ ในเวลาที่เหมาะสม อีกทั้ง เป้าหมายและตัวชี้วัดในทุกๆ กิจกรรมทางการตลาดจะถูกกำหนดขึ้นมาอย่างชัดเจน

งานบริการลูกค้า ควรจะเลือกบริษัทประกันภัยที่มีทีมงาน ความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัยพร้อมให้บริการและคำปรึกษาทางด้านประกันภัยแก่ลูกค้าทุกราย

การบริหารจัดการ ควรจะเลือกเปลี่ยนจากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เพื่อความพึงพอใจสูงสุดสำหรับกลุ่มลูกค้า มุ่งมั่นใส่ใจในทุกรายละเอียด ลดขั้นตอนการบริหารจัดการที่ยุ่งยาก รวมถึงปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ผู้บริหารโครงการ การแต่งตั้งผู้บริหารโครงการ กำหนดวิสัยทัศน์ วางแผนกลยุทธ์ รวมไปถึงการลงมือปฏิบัติและบริหารจัดการความเสี่ยงภัยให้กับธุรกิจ จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการประสานงานและการให้บริการที่ดีเยี่ยมจากผู้บริหารโครงการของเรา

การวัดผลความสำเร็จ ควรจะเลือกบริษัทประกันภัยที่มีความเชื่อในการให้ความสำคัญต่อการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมถึงวิธีการวัดผลความสำเร็จในงานที่ทำตามที่ได้คาดหวังไว้ ทั้งทั้งที่การแข่งขันในตลาดจะสูงมากแค่ไหนก็ตาม

จากที่กล่าวมาข้างต้น ประกันภัยสำหรับพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ดีที่ควรมีไว้เป็นเพื่อนคู่กายเพื่อลดความเสี่ยง จากสิ่งท่ไม่คาดคิด ไม่คาดหวัง ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การทำประกันภัยเป็นเครื่องช่วยสร้างความมั่นใจให้กับตัวธุรกิจ พนักงาน และเจ้าของบริษัท เจ้าของธุรกิจด้วย

ประกันภัยธุรกิจร้านค้า รู้ไว้ก่อนภัยมา

ประกันร้านค้า ประกันภัยร้านค้า สำหรับธุรกิจ ร้านค้าขนาดย่อย รวบรวมความคุ้มครองครอบคลุม อุบัติภัยต่างๆไว้อย่างเหมาะสมเพื่อความอุ่นใจ พร้อมสรรพสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านค้า ประกันภัยธุรกิจร้านค้าจะช่วยรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ร้านค้า สถานประกอบการ จากอัคคีภัย และภัยอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ธุรกิจร้านค้า คือ การค้าขายสินค้าหรือการบริการแก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยผ่านทางช่องทางต่างๆเพื่อแสวงหากำไร ความต้องการของสินค้านั้นสร้างผ่านพัฒนาการตลาด และ การส่งเสริมการขาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ผ่านทางห่วงโซ่อุปทาน  สถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ ในตลาดแบบโบราณนั้น ผู้ขายจะตั้งร้านเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ ถึงแม้จะเป็นตลาดที่เก่าแก่ แต่ว่ายังมีตลาดแบบโบราณนี้อยู่มากมายทั่วโลก

ธุรกิจร้านค้าทั่วไป/เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ธุรกิจร้านเบเกอรี่ ธุรกิจร้านกิ๊ฟซ็อป ธุรกิจร้านขายยา ธุรกิจร้านขายหนังสือ ธุรกิจร้านขายเครื่องเขียน ธุรกิจร้านขายเสื้อผ้า ธุรกิจร้านขายข้าวสาร ธุรกิจร้านขายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจร้านขายผลไม้ ธุรกิจร้านขายเครื่องสำอาง ธุรกิจร้านขายเหล็กเส้น/แผ่นเหล็ก ธุรกิจร้านขายรองเท้า ธุรกิจร้านขายเครื่องครัว ธุรกิจร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน  ธุรกิจร้านขายสุขภัณฑ์ ธุรกิจร้านขายของเล่นเด็ก ธุรกิจร้านขายของใช้เด็กอ่อน ธุรกิจร้านขายตู้เซฟ ธุรกิจร้านขายอุปกรณ์กีฬา ธุรกิจร้านขายเครื่องดนตรี ธุรกิจร้านขายดอกไม้

โดยปัจจุบันมนุษย์เงินเดือนได้ผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจร้านค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หากว่าทำธุรกิจอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้เป็นพนักงานรับเงินเดือนด้วย ความเสี่ยงภัยก็จะมีเพิ่มมากขึ้น การทำประกันภัยธุรกิจร้านค้าความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันภัยธุรกิจร้านค้า คือ มอบความคุ้มครองกรณีไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ลมพายุ แผ่นดินไหว ลูกเห็บ อากาศยาน การนัดหยุดงาน การกระทำอันมีเจตนาร้าย การถูกชนโดยยานพาหนะ ความเสียหายเนื่องจากน้ำ, ให้ความคุ้มครองภัยจากการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะรวมถึงการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์, คุ้มครองการแตกของกระจกโดยอุบัติเหตุ, คุ้มครองความสูญเสียของเงิน อันเกิดจากการชิงทรัพย์, ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รวมถึงคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก จากการเกิดอุบัติเหตุของลูกค้าหรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจ ภายในสถานที่เอาประกันภัย

หากว่าธุรกิจร้านค้าร้านไหน สนใจอยากทำประกันภัยธุรกิจร้านค้า สามารถเช็คดูข้อมูล ตารางเปรียบเทียบ ข้อเสนอเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันได้ตามเว็บไซด์ของบริษัทประกันภัยนั้นๆ การมีประกันภัยธุรกิจร้านค้าเป็นเพียงหลักประกันหนึ่งที่สามารถเพิ่มความสบายใจให้แก่ตัวเจ้าของธุรกิจเท่านั้น